สุสานไทยูอิน (Taiyuin)

สุสานไทยูอิน (Taiyuin)

ไทยูอิน (Taiyuin) เป็นสถานที่ถึงแก่กรรมของอิเอมิตสึ (Iemitsu) (ค.ศ. 1604-1651) โชกุนคนที่สามแห่งตระกูลโทกูงาวะ อิเอมิตสึขึ้นเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1623 แม้ว่าโชกุนคนที่สอง คือ ฮิเดตาดะ พ่อของเขาจะยังคงปกครองในฐานะโชกุนปลดเกษียณจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1632 รูปแบบนี้เป็นไปตามที่กำหนดโดยโชกุนคนแรก คือ อิเอยาสุ ซึ่งขึ้นเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 แต่เกษียณในปี ค.ศ. 1605 โดยปกครองในตำแหน่งโชกุนเกษียณจนถึงปี ค.ศ. 1616 หลังจากที่อิเอมิตสึขึ้นมีอำนาจอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1633 จึงได้รวมฐานอำนาจของโชกุน โดยใช้โครงสร้างทางการเมืองที่จะยังคงมีผลบังคับใช้ไปจนถึงการสิ้นสุดของระบบโชกุนในปี ค.ศ. 1867

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิเอมิตสึ คือ การดำเนินนโยบายเพื่อปกครองอำนาจของขุนนางศักดินา ก่อนที่อิเอยาสุจะรวมประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง หลังจากสงครามเซกิงาฮาระในปี ค.ศ. 1600 กองกำลังทหารที่ยิ่งใหญ่แสดงถึงเอกราชทางการเมือง ขุนนางศักดินาที่แข็งแกร่งที่สุดต่างไม่คุ้นเคยต่อการยอมจำนน ในฉากที่มีชื่อเสียงฉากหนึ่ง อิเอมิตสึได้เรียกผู้มีอำนาจเหล่านี้ ซึ่งหลายคนก็อาวุโสกว่าเขามาก และประกาศว่า : “เราเป็นโชกุนโดยกำเนิด ต่อจากนี้ไปเราจะถือว่าท่านเป็นข้าราชบริพารของเรา หากท่านคัดค้านจงกลับไปยังดินแดนของท่านและเตรียมทำสงคราม”

ในช่วงต้นระบอบการปกครอง อิเอมิตสึได้ก่อตั้งระบบที่เรียกว่าซังกินโกไท (Sankin kotai) คือระบบการผลัดกันพำนัก ซึ่งขุนนางในส่วนภูมิภาคจะต้องย้ายครัวเรือนไปยังเอโดะ (โตเกียว) เป็นเวลาหนึ่งปีและจะกลับไปถิ่นฐานได้ในปีถัดไป ในขณะที่ตัวขุนนางยังคงอยู่ในดินแดนของตน แต่ภรรยาและทายาทของเขามาอยู่ในเอโดะในฐานะตัวประกัน เช่นเดียวกับการบังคับให้ขุนนางใช้จ่ายเงินจำนวนมากที่อาจใช้ในการยกระดับกองทัพ โดยระบบนี้ยังอนุญาตให้โชกุนควบคุมดูแลขุนนางศักดินาอย่างใกล้ชิดมากขึ้น อิเอมิตสึใช้นโยบายการแยกตัวเป็นเอกเทศในปี ค.ศ. 1635 ซึ่งจำกัดการเข้าญี่ปุ่นของชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด รวมทั้งป้องกันไม่ให้คนญี่ปุ่นทั่วไปเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากการปราบปรามกบฏชิมาบาระ (ค.ศ. 1637-1638) ญี่ปุ่นอยู่ในความสงบสุขมากว่า 200 ปี

ไทยูอินจึงไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่เป็นสุสานของโชกุนคนที่สามเท่านั้น อาคาร การประดับตกแต่ง และองค์ประกอบอื่น ๆ ของไทยูอินได้รับการออกแบบมาเพื่อแสดงถึงอำนาจและบารมีของโชกุนโทกูงาวะ ตัวอย่างเช่น มีประตูสามบานบนเส้นทางเข้าสู่สุสาน โดยแต่ละบานมีเทพทวารบาลสองตนขึ้นไปที่คอยขับไล่ความชั่วร้าย โดยทั่วไป ศาลเจ้าและวัดจะได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยมีประตูเพียงบานเดียวที่ขนาบข้างด้วยเทพผู้พิทักษ์สองตน นอกจากนี้ แนวถนนทางเข้ายังเรียงรายไปด้วยโคมไฟที่ทำด้วยหินหรือทองสัมฤทธิ์ ซึ่งได้รับบริจาคจากขุนนางศักดินาที่มีอำนาจมากที่สุดเพื่อเป็นการแสดงออกถึงการยอมสวามิภักดิ์ต่อโชกุน นอกจากนี้ ยังมีโคมไฟที่บริจาคไว้โดยราชวงศ์ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกทางกายภาพของความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างราชสำนักกับโชกุน ตลอดจนความชอบธรรมในการปกครองของโทกูงาวะ

สุสานมีความสวยงาม แต่การออกแบบก็ยังแสดงออกถึงความเคารพอย่างสูงที่โชกุนคนที่สามมีต่อปู่ของเขา โชกุนอิเอมิตสึเลือกสถานที่ใกล้กับสุสานของโชกุนโทกูงาวะคนแรก แต่ก็ระมัดระวังไม่ให้สุสานของเขาไปงดงามเทียบเคียงในระดับเดียวกับความงดงามของโทโชกุ (Toshogu) ตัวอย่างเช่น รูปแบบสีทองและสีดำของไทยูอินนั้นดูเรียบง่ายกว่าสีทองและสีขาวของโทโชกุ การตกแต่งอย่างสวยงามก็ยังไม่วิจิตรอลังการเท่า

 


แผนผังบริเวณ

TOP
Nikko-zan Rinnoji

© Nikko-zan RINNO-JI Temple